บทที่1.4 หน่วยวัด


      สมบัติของสสารเชิงปริมาณจะเกี่ยวข้องกับตัวเลขที่วัดได้จากเครื่องมือต่าง ๆ เช่น กระบอกตวง ขวดวัดปริมาตร บิวเรต ปิเปต เครื่องชั่ง ฯลฯ ซึ่งตัวเลขที่วัดได้โดยตรงนั้นต้องมีหน่วยกำกับจึงจะเกิดความชัดเจน ดังตัวอย่าง นายแดงต้องการซัลฟิวริกเข้มข้น 12 ตัวเลข 12 ไม่มีหน่วย จึงไม่รู้ว่านายแดงต้องการกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 12 โมลาร์ หรือ 12 นอร์มอล หรือ 12 โมแลล หรือร้อยละ 12 หรือ 12 ppm ดังนั้นค่าของปริมาณจะต้องมีหน่วยของการวัดกำกับไว้ด้วยเสมอ
             หน่วยที่ใช้วัดทางวิทยาศาสตร์มีทั้งระบบเมตริก (metric system) และระบบอังกฤษ (English system) แต่ในปี ค.ศ.1960 องค์กรนานาชาติได้มีการประชุมใหญ่เกี่ยวกับหน่วยของการวัดและเสนอให้ปรับปรุงหน่วยระบบเมตริก เป็นหน่วยมาตรฐานสากล หรือหน่วยระบบเอสไอ (SI ย่อมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า System International d’ Units) หน่วยระบบเอสไอประกอบด้วยหน่วยพื้นฐาน 7 ประเภท คือ หน่วยของมวล ความยาว เวลา กระแสไฟฟ้า อุณหภูมิ ความเข้มการส่องสว่าง ปริมาณของสาร  ดังตาราง 1.2  
ตาราง 1.2 หน่วยพื้นฐานในระบบเอสไอ



ซึ่งหน่วยพื้นฐาน(basis units) เหล่านี้มีรายละเอียดดังนี้

มวล
หน่วยของมวล คือ กิโลกรัม (kg)  หมายถึง มวลของแท่งแพลตินัมที่เก็บไว้ที่สถาบันน้ำหนักและการวัดระหว่างประเทศ (International Bureau of Weights and Measures) ในประเทศฝรั่งเศส

ความยาว
หน่วยของความยาว คือ เมตร (m) หมายถึง 1650763.73 ความยาวคลื่นของการแผ่รังสีของคริปตอน – 86 ซึ่งแทรนซิชันจาก 2p ไปยัง 5d ในสุญญากาศ

เวลา
หน่วยของเวลา คือ วินาที (s) หมายถึง 9.192631770 x 109 คาบของการแผ่รังสีของ Cs – 133 ซึ่งแทรนซิชันระหว่างสองระดับไฮเปอร์ไฟด์ (hyperfine) ของสถานะพื้น

อุณหภูมิ
หน่วยของอุณหภูมิคือ เคลวิน (K) หมายถึง 1/273.15 ของอุณหภูมิอุณหพลศาสตร์ของจุดร่วมสาม (triple point) ของน้ำ

กระแสไฟฟ้า
          หน่วยของกระแสไฟฟ้าคือ แอมแปร์ (A) หมายถึง กระแสไฟฟ้าที่อยู่ในตัวนำ 2 ตัว (ซึ่งเล็กมากจนไม่คิดภาคตัดขวางและยาวอนันต์) ที่วางขนานกันห่างกัน 1 เมตรในสุญญากาศทำให้เกิดแรงเท่ากับ 2 x 10-7 นิวตันต่อเมตร

โมล
          โมล (mol) เป็นปริมาณของสารที่ประกอบด้วยอนุภาค (อะตอม โมเลกุล ไอออน หรืออนุภาคอื่นใด) เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนอะตอมในคาร์บอน – 12 ไอโซโทป 12 กรัมหรือ 0.012 กิโลกรัม

ลูมินอสซิตี้
หน่วยของลูมินอสซิตี้ (luminosity) หรือความเข้มของการส่องสว่าง คือ แคนเดลา(candela: cd) มีค่าเท่ากับความเข้มที่ตกตั้งฉากกับพื้นผิว 1/160000 ตารางเมตรของวัตถุดำที่อุณหภูมิของแพลตินัมแข็งภายใต้ความดัน 101325 นิวตันต่อตารางเมตร


ส่วนหน่วยอื่น  ๆเป็นหน่วยที่แปลงมาจากหน่วยพื้นฐานเรียกว่า หน่วยอนุพัทธ์ (derived unit)  ซึ่งชื่อ สัญลักษณ์และนิยามของหน่วยได้แสดงไว้ในตาราง1.3


คำนำหน้าหน่วย
          เนื่องจากหน่วยเอสไอของปริมาณทางกายภาพบางอย่างก็มีค่าน้อยมาก บางอย่างก็มีค่าใหญ่มาก ทำให้ไม่สะดวกในการใช้ จึงนิยมใช้คำนำหน้าหน่วยดังแสดงในตาราง 1.4

ตาราง 1.4 รายการคำนำหน้าหน่วย
หลักการใช้หน่วยระบบเอสไอ
1.     หน่วยเอสไอเป็นเอกพจน์เสมอ เช่น km ไม่ใช่ kms
2.     ไม่ต้องใส่จุดต่อท้ายตัวย่อของหน่วย เช่น km ไม่ใช่  km.
3.     ในกรณีตัวเลขที่มีทศนิยม จะใช้จุดแสดงทศนิยมหรือใช้เครื่องหมาย ก็ได้ แต่ต้องเขียนบนเส้นบรรทัดไม่เขียนลอยเหนือบรรทัด เช่น 3.5 หรือ 3,5
4.     ตัวเลขหน้าและหลังทศนิยม เขียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ตัว โดยไม่ต้องเขียนเครื่องหมายใด ๆ คั่น เช่น 2743   201.127 45
5.     กรณีอุณหภูมิเป็นเคลวิน (K) ไม่ต้องใส่เครื่องหมายองศา ° ) เช่น 273 ไม่ใช่273 oK
6.     ไม่นิยมใช้ขีด / แต่ถ้าต้องการใช้จะใช้ไม่เกิน 1 ครั้งในหน่วยเดียวกัน เช่น Jmol-1K-1 หรือ J/mol.K ไม่ใช่ J/mol/K
7.     เมื่อนำหน่วยมาคูณกันอาจแสดงด้วยจุดหรือเว้นช่องว่างระหว่างหน่วยไว้เช่น เมตร เคลวิน เขียนเป็น m.K หรือ m K ไม่ใช่ mK ซึ่งทำให้เข้าใจผิดเป็นมิลลิ-เคลวิน

8.     ข้อสังเกตเกี่ยวกับหน่วยที่ใช้วัดปริมาณต่าง ๆ ทางเคมีซึ่งใช้อยู่เสมอ ๆ ได้แก่ มวล ซึ่งหน่วยเอสไอใช้กิโลกรัม ส่วนความยาวใช้เมตร ถ้าสิ่งใดมีขนาดเล็ก เช่น ความยาวคลื่นแสง ก็ใช้ นาโนเมตร (nanometer, nm) ซึ่งเท่ากับ 10-9 เมตร (เทียบเท่า 10  ในระบบเมตริก) นอกจากนี้ยังใช้พิโกเมตร (picometre, pm = 10-12 mสำหรับความยาวของพันธะเคมีด้วย


หน่วยที่นิยมใช้

          การใช้หน่วย SI เป็นที่ยอมรับกันมากในระดับสากล แต่ก็ยังพบหน่วยที่นิยมใช้อื่น ๆ เช่น หน่วยปริมาตรยังใช้เป็นลิตร (l) หรือมิลลิลิตร (ml) แทนที่จะเป็นหน่วยเอสไอ dm3หรือ cm3 หน่วยความเข้มข้นเป็นโมลต่อลิตร (mol/l) แทนที่จะเป็นโมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร (mol dm-3) และความยาวพันธะเป็น  Å แทน 10-10 m และยังมีฟังก์ชันหลายประเภทที่ไม่ใช้หน่วย SI เช่น แรง ความดัน และพลังงาน เป็นต้น ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการใช้งานก็สามารถแปลงหน่วยให้สัมพันธ์กับหน่วย SI ได้


ที่มา:elife-news.blogspot

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่ 11 สารเคมีรั่วไหลจากเรือในแคลิฟอร์เนีย

สารเคมีรั่วไหลจากเรือในแคลิฟอร์เนีย เกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลจากเรือลำหนึ่งที่จอดเทียบท่าในเขตลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐฯ ...